Call Us :

093-596-1499

Location :

เมดิก้า นูทริชั่นนอล

Search
Close this search box.

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง, เบาหวาน Diabetic nature care

อาหารสำหรับผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง

Health support series- Diabetic nature care ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง, เบาหวาน

ปัจจุบันผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีมากขึ้น และอายุของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานก็ยิ่งต่ำลงเรื่อยๆ เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงด้านการรับประทานอาหารน้ำตาลสูง, การออกกำลังกายน้อย รวมถึงอายุที่มากขึ้น และโรคเบาหวานก็นับว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง, เบาหวาน เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้น ทำให้โครงสร้างหลอดเลือดเปลี่ยนแปลงไป และเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดก้อนไขมัน, คราบพลัคเกาะผนังหลอดเลือด ทำให้เกิดการอุดตันอย่างเฉียบพลันได้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจได้รุนแรงและมากกว่าคนปกติ ดังนั้นนอกจากการดูแลด้านอาหารและยาแผนปัจจุบันแล้ว การเสริมด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสารสกัดสมุนไพร สามารถช่วยชะลอและบรรเทาความเสี่ยงจากโรคเบาหวานและภาวะไขมันในเลือดสูงได้

สารสำคัญ

  1. สารสกัดจากขิง (Ginger extract) : เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลเลือด (Antihyperglycemic) โดยผลการวิจัยพบว่าเมื่อให้ผู้เข้าร่วมทดลองทานสารสกัดขิง ปริมาณ 2 กรัมต่อวันเป็นเวลาต่อเนื่อง 12 สัปดาห์ สามารถช่วยลดระดับปริมาณน้ำตาลในเลือดได้ถึง 12% โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบจากค่าระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง (Fasting blood sugar) ก่อนและหลังทานสารสกัดขิง นอกจากนี้สารสกัดขิงยังไปลดระดับ Hemoglobin A1C (HbA1C) หรือค่าน้ำตาลในเลือดที่จับกับโปรตีนในเม็ดเลือดแดง ที่เป็นสิ่งบ่งบอกระดับน้ำตาลสะสม  ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง, เบาหวาน สารสกัดขิงยังสามารถลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์, คอเลสเตอรอล และ LDL (ไขมันไม่ดี) ได้อีกด้วย
  2. สารสกัดจากชะเอมเทศ (licorice extract) : ประกอบสารด้วย Triterpene และ Flavonoid หลากหลายชนิดที่มีสรรพคุณด้านการต้านโรคเบาหวาน (anti-diabetic) เช่น สาร GLD, liquiritigenin (LTG), isoliquiritigenin (ISL), liquiritinand และ licochalcone A โดยสารสกัดเหล่านี้สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือด, เพิ่มค่าการทนน้ำตาล (glucose intolerance) และยังมีสมบัติ Anti-oxidant ช่วยป้องกันเซลล์จากการถูกทำลายเนื่องจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (hyperglycemia) และในระยะยาวยังสามารถลดระดับไขมันในเลือด (คอเลสเตอรอล), LDL (ไขมันไม่ดี) และความดันโลหิตได้
  3. สารสกัดจากมะรุม (Moringa extract) : มีสาร Bioactive และ Antioxidant สูงมาก การทารสารสกัดจากมะรุม ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ เนื่องจากสรรพคุณของ isothiocyanates ในมะรุม โดยจากทดสอบในผู้หญิง 30 คน พบว่าการทานมะรุมทุกวันเป็นเวลา 3 เดือน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เฉลี่ย 13.5% และยังมีสมบัติ hypolipidaemic ช่วยลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือด และลดการเกิดพลัคเกาะผนังหลอดเลือด (atherosclerotic plaque formation; เป็นสาเหตุของการขัดขวางการไหลของเลือด) ทำให้ลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ 
  4. สารสกัดจากกระเทียม (Garlic Extract) สามารถลดระดับไขมันในเลือดได้ โดยระดับคอเลสเตอรอลในเลือดจะลดลงเฉลี่ย 17 mg/dL และไขมันไม่ดี หรือ LDL ลดลงเฉลี่ย 9 mg/dL โดยสารสกัดกระเทียมจะลดเฉพาะ LDL เท่านั้น โดยไม่ผลกระทบต่อ HDL หรือไขมันดีในเลือด ผู้ที่อายุเกิน 50ปี ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง, เบาหวาน การทานสารสกัดกระเทียมจะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจหลอดเลือดได้ถึง 38% ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น จึงเรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่เสี่ยงต่อโรคหัวใจหลอดเลือด นอกจากนี้สาร allici, allyl propyl disulfide และ S-allyl cysteine sulfoxide ยังช่วยเพิ่มระดับการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินในกระแสเลือด ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงได้
  5. สารสกัดจากขมิ้นชัน (Turmeric extract) มีสารสำคัญกลุ่ม Polyphenol เช่น sesquiterpenes ที่อุดมด้วยสาร Anti-oxidant ที่มีฤทธิ์สูงกว่า Vitamin E 8 เท่า, มีฤทธิ์ต้านอาการอักเสบ (anti-inflammatory) และที่สำคัญคือมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด, ลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด, ลดอาการที่เกี่ยวเนื่องมาจากโรคเบาหวาน, ลดภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin sensitivity) และคงระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้อาการของโรคสามารถควบคุมได้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง, เบาหวาน สารสำคัญในขมิ้นชันยังช่วยลดภาวะของผู้ที่เสี่ยงต่อโรคหัวใจหลอดเลือดได้ โดยการลดระดับไขมันในเลือด และลดระดับการสร้าง lipid peroxide หนึ่งในสัญญาณความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง, เบาหวาน- Diabetic nature care เหมาะสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงไขมันในเลือดสูง, น้ำตาลในเลือดสูง และผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไขมันหลอดเลือด เจ้าของแบรนด์ที่สนใจสามารถติดต่อ MEDIKA LABS (บริษัท เมดิก้า แล็บส์ จำกัด) ผู้ให้บริการสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอางระดับพรีเมียม ที่พร้อมแนะนำ ดูแล ทุกขั้นตอนการสร้างแบรนด์แบบครบวงจร พร้อมส่งสินค้าของท่านออกสู่ตลาดด้วยความมั่นใจ

ดังนั้นคุณจึงมั่นใจได้เลยว่า Medikalabs จะช่วยให้ผลิตภัณฑ์ของคุณ ก้าวขึ้นเป็นที่หนึ่งในวงการธุรกิจได้อย่างแน่นอน!

ติดต่อสอบถามรายละเอียดฟรี ไม่มีค่าใช้ได้ที่…

Tel : 083-5662892 | 082-4622289 | 02-6863469

FACEBOOK | อัพเดทเทรนด์ธุรกิจ : https://www.facebook.com/medikalabs

LINE OA | Add พูดคุย-สั่งผลิต : คลิก > https://lin.ee/21n2Eoo

GET A QUOTE | ขอใบเสนอราคาผลิต :  คลิก > https://bit.ly/3zjFpfy

Website : https://medikanutritional.com

 

อ้างอิง

Babu, P. S., & Srinivasan, K. (1997). Hypolipidemic action of curcumin, the active principle of turmeric (Curcuma longa) in streptozotocin induced diabetic rats. Molecular and cellular biochemistry166(1-2), 169–175. https://doi.org/10.1023/a:1006819605211

Chumark, P., Khunawat, P., Sanvarinda, Y., Phornchirasilp, S., Morales, N. P., Phivthong-Ngam, L., Ratanachamnong, P., Srisawat, S., & Pongrapeeporn, K. U. (2008). The in vitro and ex vivo antioxidant properties, hypolipidaemic and antiatherosclerotic activities of water extract of Moringa oleifera Lam. leaves. Journal of ethnopharmacology116(3), 439–446.

Fogelman, Y., Gaitini, D., & Carmeli, E. (2016). Antiatherosclerotic effects of licorice extract supplementation on hypercholesterolemic patients: decreased CIMT, reduced plasma lipid levels, and decreased blood pressure. Food & nutrition research60, 30830. 

Karin Ried, Catherine Toben, Peter Fakler, Effect of garlic on serum lipids: an updated meta-analysis, Nutrition Reviews, Volume 71, Issue 5, 1 May 2013, Pages 282–299,

Li Y, Tran VH, Duke CC, Roufogalis BD. Preventive and Protective Properties of Zingiber officinale (Ginger) in Diabetes Mellitus, Diabetic Complications, and Associated Lipid and Other Metabolic Disorders: A Brief Review. Evidence-based Complementary and Alternative Medicine : Ecam. 2012 ;2012:516870.

Makhdoomi Arzati, M., Mohammadzadeh Honarvar, N., Saedisomeolia, A., Anvari, S., Effatpanah, M., & Makhdoomi Arzati, R. et al. (2017). The Effects of Ginger on Fasting Blood Sugar, Hemoglobin A1c, and Lipid Profiles in Patients with Type 2 Diabetes. International Journal Of Endocrinology And Metabolism, In Press (In Press). 

Ojewole JAO. Analgesic, antiinflammatory and hypoglycaemic effects of ethanol extract of Zingiber officinale (Roscoe) rhizomes (Zingiberaceae) in mice and rats. Phytotherapy Research. 2006;20(9):764–772

Yang, L., Jiang, Y., Zhang, Z., Hou, J., Tian, S., & Liu, Y. (2020). The anti-diabetic activity of licorice, a widely used Chinese herb. Journal Of Ethnopharmacology, 263, 113216. doi: 10.1016/j.jep.2020.113216

Zhang, D. W., Fu, M., Gao, S. H., & Liu, J. L. (2013). Curcumin and diabetes: a systematic review. Evidence-based complementary and alternative medicine : eCAM2013, 636053.

About Our Proprietor

รับผลิตอาหารเสริมและเครื่องดื่ม

ODM/OEM Dietary Supplement Product
Branding & Marketing to Grow Your Brand