Call Us :

093-596-1499

Location :

เมดิก้า นูทริชั่นนอล

Search
Close this search box.

ฮาลาล (Halal) คืออะไร เครื่องหมายฮาลาลสำคัญอย่างไรต่อชาวมุสลิม

ฮาลาล

อาหารฮาลาลคืออะไร? ต้องไม่มีส่วนประกอบของหมูเท่านั้นไหม? หลายคนต้องเคยได้ยินคำว่า ฮาลาล หรือเห็นเครื่องหมายฮาลาล ที่มาพร้อมกับความเข้าใจที่ว่า สินค้าฮาลาลคือสินค้าของศาสนาอิสลามเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว สินค้าที่มีเครื่องหมายฮาลาลไม่ได้เฉพาะเจาะจงว่าเป็นอาหารของชาวมุสลิมเท่านั้น ผลิตภัณฑ์ฮาลาลถือเป็นอาหารประเภทหนึ่งที่ผลิตตามหลักข้อห้ามอันอิงมาจากหลักศาสนาอิสลาม เพื่อให้ชาวมุสลิมสามารถรับประทานได้อย่างสนิทใจ มั่นใจว่าจะไม่ผิดหลักศาสนาอิสลามที่ตัวเองนับถือ

ฮาลาล คืออะไร

ฮาลาล คือ

อาหารฮาลาล หรือ Halal Food คือ อาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้รับการอนุมัติตามบัญญัติของศาสนาอิสลามให้มุสลิมสามารถบริโคหรือใช้ประโยชน์ได้ โดยคำว่า “ฮาลาล” หรือที่อ่านได้อีกแบบว่า ฮะลาล เป็นคำที่มาจากภาษาอารบิก ฮาลาล แปลว่า อนุมัติ อนุญาต กล่าวคือ อาหารฮาลาลคืออาหารที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตตามหลักศาสนบัญญัติ โดยคำว่า ฮาลาล จะตรงข้ามกับคำว่า ฮารอม (Haram) ที่แปลว่า นอกไปจากนี้ ฮาลาล ตอยยิบ (Toyyib) แปลว่า ดี มีคุณค่า ปราศจากอันตราย มัสบุฮฺ (Musbuh) แปลว่า เคลือบแคลงสงสัยว่าฮาลาลหรือฮารอม

 

ส่วนเครื่องหมายฮาลาลหรือตราฮาลาลคือ ตราที่ประทับไปตามสลากผลิตภัณฑ์อาหาร สินค้าเพื่อสำหรับการอุปโภคบริโภค หรือกิจการใดๆ เพื่อระบุว่าผลิตภัณฑ์หรือสินค้าอาหารนั้นๆ เป็นผลิตภัณฑ์ฮาลาลที่ศาสนาอนุมัติ ผู้ออกตราฮาลาลในประเทศไทยคือ ตราเครื่องหมายฮาลาลจะเป็นกรอบสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มีคำว่าฮาลาลภาษาอาหรับอยู่ภายใน และมีลายเส้นแนวตั้งอยู่หลังกรอบ ล่างสุดจะมีคำว่า “สนง.คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย” หรือ “THE ISLAMIC COMMITTEE OFFICE OF THAILAND”

มาตรฐานฮาลาล

มาตรฐานฮาลาล มีองค์ประกอบสำคัญคือ กระบวนการผลิตตั้งแต่ขั้นตอนแรกไปจนถึงขั้นตอนสุดท้าย ไม่ว่าจะขั้นการผลิต ผสม ปรุง ประกอบ หรือแปรสภาพ ล้วนต้อง “ฮาลาล” กล่าวคือ จะต้องถูกต้องตามบัญญัติศาสนาอิสลลาม ไม่มีขั้นตอนใดที่ “ฮารอม” หรือสิ่งต้องห้ามตามศาสนบัญญัติ  โดยหน้าที่ของผู้เชือดสัตว์ให้ได้เนื้อสัตว์ฮาลาล และสิ่งต้องก้ามตาศาสนบัญญัติฮาลาล มีดังนี้

หน้าที่ของผู้เชือดสัตว์ให้ได้เนื้อสัตว์ฮาลาล

  1. เป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม
  2. สัตว์ที่จะเชือดต้องไม่เป็นสัตว์ต้องห้ามตามหลักศาลนาอิสลาม
  3. สัตว์ที่จะเชือดต้องไม่ปนเปื้อนหรือสัมผัสกับสัตว์ต้องห้ามตามหลักศาลนาอิสลามในระหว่างการขนส่ง
  4. ไม่มีการทรมานสัตว์ก่อนเชือด
  5. อุปกรณ์ในการเชือดต้องเป็นของมีคม ห้ามทำมาจากเล็กและกระดูก
  6. ผู้เชือดกล่าวนามของพระเจ้าในขณะเริ่มการเชือด
  7. เชือดให้เสร็จในคราเดียว ไม่มีการทรมานสัตว์
  8. การเชือดเป็นไปตามศาสนบัญญัติ โดยเชือดให้หลอดอาหารและเส้นเลือดข้างลำคอของสัตว์ที่ถูกเชือดขาดออกกันโดยสิ้นเชิง

สิ่งต้องห้ามตามศาสนบัญญัติฮาลาล

สัตว์ที่ห้ามบริโภคตามหลักศาสนาอิสลามมีดังนี้

  1. หมู หมูป่า
  2. สุนัข
  3. ลิง
  4. สัตว์ที่มีเขี้ยวและกรงเล็บ เช่น เสือ สิงโต หมี นกอินทรี นกแร้ง
  5. สัวต์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ
  6. สัตว์ที่ห้ามฆ่าตามหลักศาสนาอิสลาม เช่น มด ผึ้ง นกหัวขวาน
  7. สัตว์ที่อาศัยอยู่ได้ทั้งบนบกและในน้ำ เช่น กบ คางคก 
  8. สัตว์น่ารังเกียจโดยทั่วไป เช่น เห็บ หมัด แมลงวัน หนอน
  9. สัตว์ที่ตายเองโดยไม่ได้ผ่านการเชือดตามหลักศาสนาอิสลาม
  10. ลาและล่อที่เป็นสัตว์เลี้ยงใช้งาน

สิ่งที่ห้ามบริโภคตามหลักศาสนาอิสลาม ได้แก่

  1. เลือดที่มาจากการเชือดหรือไหลออกจากร่างกาย
  2. อาหารที่ได้จากพืชที่มีพิษ
  3. อาหารและเครื่องดิ่มที่ก่อให้เกิดความมึนเมา
  4. เครื่องดื่ม แร่ธาตุ และวัตถุเคมีทุกชนิดที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย
  5. อาหาร GMO จากพันธุกรรมของสัตว์ที่ห้ามบริโภคตามหลักศาสนาอิสลาม

ความสำคัญของเครื่องหมายฮาลาล

“ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ นบีมุฮัมมัดเป็นผู้สื่อ (รอซูล) ของอัลลอฮฺ” คือหลักศรัทธาของศาสนาอิสลาม เป็นสาเหตุที่ทำให้ชาวมุสลิมเชื่อและศรัทธาว่าหลักคำบัญชาของอัลลอฮฺ (อัล-กุรอาน) คำสอนและแบบอย่างของนบีมุฮัมมัด (ซุนนะห์) เป็นสิ่งที่มุสลิมจะต้องปฏิบัติตาม โดยหลักฮาลาลและฮารอมไม่ได้เจาะจงที่การบริโภคอาหารเท่านั้น แต่ครอบคลุมไปถึงการปฏิบัติตนในทุกด้าน เนื่องจากอิสลามคือระบอบแห่งการดำเนินชีวิตของมนุษย์

 

ในปัจจุบันมีผู้บริโภคที่เป็นมุสลิมอยู่ราว 2,000 ล้านคนทั่วโลก ผู้ผลิตจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ เข้าใจกระบวนการผลิตที่ถูกต้องตามหลักฮาลาลเพื่อสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้องอย่างเป็นสากล เป็นมาตรฐานสำหรับโรงงานผลิตอาหารเสริมสืบต่อไป 

 

นอกไปจากนี้ ผู้ที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามก็ได้ประโยชน์จากฮาล้าเครื่องหมายอิสลามเช่นกัน  เพราะเครื่องหมายฮาลาลคือเครื่องแสดงถึงกระบวนการผลิตที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม ทำให้อาหารที่มีเครื่องหมายอิสลามทานได้ปราศจากสิ่งต้ิงห้าท รวมถึงมีคุณค่าทางสารอาหาร

ขั้นตอนในการขอรับรองฮาลาล

ขั้นตอนในการขอรับรองฮาลาล สำหรับการประกอบอาหารทั่วไป รวมถึงโรงงานผลิตคอลลาเจน มีดังนี้

  1. ผู้ประกอบการยื่นความจำนงขอรับรองมาตรฐานอาหารฮาลาล
  2. ผู็ประกอบการยื่นคำขอรับการตรวจรับรองต่อสำนักงานกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย หรือสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด
  3. คณะผู้ตรวจสอบไปตรวจโรงงานหรือสถานประกอบการตามที่นัดหมาย
  4. คณะกรรมการพิจารณาผลการตรวจสอบและให้หนังสือรับรอง
  5. ติดตามและประเมินผล

หน้าที่ของผู้ผลิตสินค้าฮาลาล

ผู้ประกอบการไม่ว่าจะโรงงานผลิตอาหารเสริมไฟเบอร์หรือโรงงานผลิตอาหารเสริมลดน้ำหนักควรปฏิบัติตามหน้าที่ดังต่อไปนี้ 

  1. รักษาอุปกรณ์ในการผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาลให้สะอาดตามหลักศาสนาอิสลาม
  2. ไม่ใช้อุปกรณ์ในการผลิตร่วมกับสิ่งต้องห้ามตามหลักศาสนบัญญัติ
  3. วัตถุดิบในการผลิตต้อง “ฮาลาล”
  4. สัตวที่ใช้ในการผลิตต้องไม่เป็นสัตว์ต้องห้ามของศาสนบัญญัติ 
  5. ผู้ควบคุมการผลิตหรือปรุงผลิตภัณฑ์ฮาลาลต้องนับถือศาสนาอิสลาม
  6. ในระหว่างการขนย้าย ผลิตภัณฑ์จะต้องไม่ปนเปื้อนกับสิ่งต้องห้ามตามศาสนบัญญัติ

คำถามที่พบบ่อย

ร้องเรียนฮาลาลได้ที่ไหน 

ตอบ: หากพบผลิตภัณฑ์ฮาลาลที่ผิดปกติ เครื่องหมายฮาลาลที่มีลักษณะแตกต่างไปจากเครื่องหมายของสำนักงาน คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ สามารถร้องเรียนไปได้ที่คณะกรรมการตรวจการผลิตภัณฑ์ฮาลาล สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย เลขที่ 45 หมู่ 3 ถนนคลองเก้า แขวงคลองสิบ เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530 โทร : 090-907-2646 , 02-949-4308 , 02-949-4114 ต่อ114 /โทรสาร : 02-949-4250 , 02-949-4341

 

ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตภายใต้ Medikalabs มีเครื่องหมายฮาลาลหรือไม่

ตอบ: โรงงานผลิตอาหารเสริม โรงงานรับผลิตเวย์โปรตีน Medika Labs รับผลิตผงชงดื่มที่การผลิตภายใต้มาตรฐานที่ได้รับการยอมรับอย่างสากล เราได้รับการรองรับเครื่องหมายฮาลาล รวมไปถึงการรองรับมาตรฐานอื่นๆ เช่น HACCP, ASEAN GMP, ISO22000