Call Us :

093-596-1499

Location :

บริษัท เมดิก้า แล็บส์ จำกัด

Search
Close this search box.

ISO 9000 ระบบมาตราฐานบริหารงานคุณภาพ คืออะไร มีกี่ประเภท

iso 9000
iso 9000
มาตรฐาน ISO 9000 เป้นมาตรฐานทราดรงงานอุตสาหกรรมนำมาปรับใช้เพื่อพัฒนาระบบบริการคุณภาพและระบบบริหารสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างมาตรฐานให้สามารถแข่งขันในท้องตลาดได้ ในบทความนี้ โรงงานผลิตอาหารเสริม Medika Labs จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักว่ามาตรฐาน ISO 9000 คืออะไร ISO มีอะไรบ้าง มาตราฐาน ISO มีกี่ประเภท รวมทั้ง ISO 9000 มีข้อกำหนดอย่างไร

ISO 9000 คืออะไร

ISO (International Organization for Standardization) หรือองค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน ที่ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานสินค้าแทบจะทุกชนิด ส่วนระบบบริการงานคุณภาพ ISO 9000  คือมาตรฐานสากลที่วัดระดับคุณภาพองค์กรด้านการบริการงานคุณภาพและประกันคุณภาพสินค้า ISO 9000 คือการจัดการระบบบริหารเพื่อประกันคุณภาพ ที่สามารถตรวจสอบได้ โดยผ่านระบบเอกสาร

มาตราฐาน ISO 9000 มีกี่ประเภท

ระบบ ISO 9000 เป็นมาตรฐานเพื่อรับประกันคุณภาพสินค้าและบริการขององค์กรให้เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า แบ่งเป็นสองส่วนคือการประกันคุณภาพและการควบคุมคุณภาพ โดยมาตรฐาน ISO 9000 มีหลักการและประเภทดังนี้

หลักการของ มาตราฐาน ISO 9000

  1. ยึดปรัชญาป้องกันมากกว่าการสืบหาปัญหา
  2. ทบทวนจุดที่เป็นปัญหาสำคัญ ตรวจสอบผลลัพธ์อย่างต่อเนื่อง
  3. ติดต่อสื่อสารภายในกระบวนการและระหว่างผู้ใช้มาตรฐาน รวมถึงผู้ป้อนวัตถุดิบและลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ
  4. จัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ จัดทำเอกสารสำคัญให้มีประสิทธิภาพ
  5. สร้างความตระหนักเรื่องคุณภาพให้แก่พนักงาน
  6. ทำให้การจัดการมีความมั่นใจในระดับสูง

ประเภทของมาตราฐาน ISO 9000

เลข “9000” ในมาตรฐาน ISO 9000 เป็นรหัสของมาตรฐานชุดนี้ โดยประเภทของมาตรฐาน ISO 9000 แบ่งแยกย่อยได้อีก 5 ฉบับ คือ

  1. ISO 9000 ประกอบไปด้วยหลักพื้นฐานและคำศัพท์
  2. ISO 9001 เป็นข้อแนะนำการเลือกใช้
  3. ISO 9002 เป็นแนวทางทั่วไปในการเลือก และการประยุกต์ใช้มาตรฐานให้เหมาะสม
  4. ISO 9003 เป็นแนวทางในการนำ ISO 9001 ไปพัฒนาประยุกต์ใช้
  5. ISO 9004 เป็นข้อแนะนำสำหรับเรื่องการจัดการที่น่าเชื่อถือ

ระบบบริหารงานคุณภาพ iso 9000 มีลักษณะอย่างไร

ลักษณะของระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9000 ประกอบไปด้วย

  1. เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับการบริหารคุณภาพสินค้า โดยยึดหลักการคุณภาพที่มุ่งเน้นให้มีการจัดทำขั้นตอนการดำเนินงานและหลักเกณฑ์ต่างๆ ของสินค้าและบริหารให้เป็นไปตามความต้องการของลูกค้าให้ได้อย่างสม่ำเสมอ
  2. เป็นมาตรฐานที่สามารถนำไปใช้ได้กับกิจการทุกประเภท ไม่ว่าจะอุตสาหกรรม โรงงานผลิตคอลลาเจน พาณิชยกรรม ธุรกิจการบริหารทั้งขนาดเล็กและใหญ่ 
  3. ได้รับการยอมรับจากทั้งในประเทศและสากล
  4. มาตรฐาน ISO 9000 เป็นระบบบริหารงานคุณภาพที่ควบคุมให้ทุกแผนกงานในองค์กรมีส่วนร่วม
  5. บริหารคุณภาพจากขั้นตอนในกระบวนการผลิตต่างๆ
  6. ให้ความสำคัญเรื่้องการจัดระเบียบเอกสารปฏิบัติงานให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อให้ใช้เข้าถึงเอกสารและนำไปใช้งานได้สะดวก
  7. เปิดโอกาสให้มีการแก้ไขปรับปรุงขั้นตอนในการปฏิบัติงาน วิธีการปฏิบัติงาน และมาตรฐานการทำงานอยู่เสมอ
  8. มาตรฐาน ISO 9000 กำหนดให้มีการตรวจประเมินโดยบุคคลที่ 3 เพื่อให้การรับรองให้ผ่านมาตรฐาน และมีการสุ่มตรวจซ้ำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เมื่อครบ 3 ปี จะตรวจประเมินใหม่อีกครั้งเสมือนขอการรับรองครั้งแรก
  9. เป็นมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก ตามเงื่อมไขของ GATT
  10. เป็นมาตรฐานที่ระบุข้อกำหนดต้องมีในระบบคุณภาพ
  11. รับรองคุณภาพขององค์กรทั้งหมด ไม่ได้แค่ส่วนใดส่วนหนึ่ง
  12. มาตรฐาน ISO 9000 ประเทศไทยรองรับให้เป็นมาตรฐาน มอก.9000

สัญลักษณ์ ISO

สัญลักษณ์ iso

สัญลักษณ์ ISO จะเป็นตัวอักษร ISO ที่ย่อมากจาก “International Organization for Standardization” พื้นหลังตัวอักษรเป็นสัญลักษณ์ลูกโลก สำนักงานหลักของ ISO ตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และมีตัวแทนจากประเทศต่างๆ มาเข้าร่วมกับผิดชอบจัดทำให้มาตรฐาน ISO มีความเป็นสากล จัดตั้งมาตรฐานให้องค์กรต่างๆ เช่น โรงงานผลิตเครื่องสำอาง โรงงานผลิตอาหารเสริมลดน้ำหนัก ปลอดภัยได้มาตรฐาน

6 ขั้นตอนในการจัดทำระบบบริหารคุณภาพ

iso 9000

ขั้นตอนสำหรับการจัดทำระบบบริหารคุณภาพ ISO มีดังนี้

  1. เตรียมการและศึกษา ศึกษาระบบคุณภาพต่างๆ ว่าควรนำระบบใดไปประยุกต์ใช้ในองค์กกร ควรปรึกษาบุคคลากรทุกระดับเพราะบุคคลากรทุกคนมีผลต่อความสำเร็จของ ISO 9000 โดยรวม
  2. การวางแผนด้านคุณภาพ โดยการกำหนดนโยบายคุณภาพที่สามารถนำไปปฏิบัติ ทำให้สำเร็จและประเมินค่าได้ จัดทำวัตถุประสงค์คุรภาพ กำหนดของเขต และจัดทำแผนการดำเนินงานที่แสดงถึงขั้นตอน ระยะเวลาทำงาน
  3. การจัดทำระบบเอกสารคุณภาพ ตามหัวข้อ ผังนโยบายคุณภาพ ผังโครงสร้างองค์กร กำหนดอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบบ คู่มือคุณภาพ ระเบียบปฏิบัติงาน รวมถึงตรวจสอบทบทวนเอกสารก่อนนำไปใช้
  4. การนำเอกสารออกใช้ เป็นการนำระบบบริหารงานคุณภาพไปปฏิบัติ องค์กรจพต้องนำเอาเอกสารระบบบริหารคุณภาพที่ได้จัดทำขึ้นไปใช้จรองให้เกิดประสิทธิผล
  5. การตรวจประเมินคุณภาพภายใน คัดเลือกพนักงานเป็นทีมตรวจคุณภาพภายใน โดยคัดเลือกจากหลายหน่วยงานในองค์กร

รับการตรวจประเมินจากหน่วยงานรับรอง เมื่อองค์กรดำเนินการจัดระบบคุณภาพเรียนร้อยแล้ว สามารถขอการรับรองจาก หน่วยรับรอง (Certification Body) จากบริษัทรับรอง ISO 9000

ข้อกำหนดของ ISO 9000

มาตรฐาน ISO 9000 ได้ระบุข้อกำหนดมาตรฐานคุณภาพเพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ข้อกำหนด ISO 9000 ประกอบไปด้วย 

  1. ขอบข่าย
  2. เอกสารอ้างอิง
  3. นิยามและคำจำกัดความ
  4. ระบบบริหารคุณภาพ
  5. ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร
  6. การจัดสรรทรัพยากร
  7. การทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นจริง
  8. การวัด การวิเคราะห์ และปรับปรุง

ประโยชน์ของการทำระบบ ISO 9000

ประโยชน์ของการทำระบบ ISO 9000 สำหรับองค์กร

  1. เกิดระบบการบริหารที่เป็นมาตรฐาน ลดข้อบกพร่อง ง่ายต่อการตรวจสอบและปรับปรุง เช่นเดียวกับมาตรฐาน GMP ฮาลาล
  2. เสมือนเครื่องมือกรองปัญหา แก้ปัญหาที่ต้นเหตุได้อย่างตรงจุด ลดการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ
  3. ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น 
  4. มีมาตรฐานกำหนดไว้ในเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน ง่ายต่อการเดินหน้าให้เป้าหมายสำเร็จได้อย่างเป็นรูปธรรม 
  5. เป็นเครื่องมือตรวจสอบภายในองค์กร
  6. คัดสรรแรงงานที่มีมาตรฐาน ลดจำนวนแรงงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ
  7. ทำให้บุคคลากรทราบถึงเป้าหมายงาน เพิ่มกำลังใจโดยรวมในการทำงานขององค์กร  

ประโยชน์ของการทำระบบ ISO 9000 สำหรับลูกค้านอกองค์กร

  1. เชื่อมั่นในบริษัทที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล เชื่อใจให้ผลิตสินค้าสร้างแบรนด์ตัวเอง
  2. ช่วยให้ลูกค้าพึงพอใจต่อสินค้าและบริการ
  3. ช่วยพัฒนาศักยภาพด้านการแข่งขัน
  4. เพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  5. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียพอใจกับระบบการปฏิบัติงานขององค์กร

คำถามเกี่ยวกับ ISO 9000

มาตราฐาน ISO ที่สำคัญในไทย มีอะไรบ้าง

ตอบ: มาตรฐาน ISO ที่สำคัญในไทย ได้แก่

  1. มาตรฐาน ISO 9000 มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ
  2. มาตรฐาน ISO 14000 มาตรฐานการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
  3.  มาตรฐาน ISO 17025 มาตรฐานการประเมินความสามารถทางวิชาการของ ห้องปฏิบัติการ
  4. มาตรฐาน ISO 18000 มาตรฐานการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  5. มาตรฐาน ISO 22000 มาตรฐานการจัดการความปลอดภัยของอาหาร
  6. มาตรฐาน ISO 13485 การจัดการคุณภาพอุตสาหกรรมอุปกรณ์ทางการแพทย์

ISO 9000 คือ หลักประกันที่บอกเราได้ว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีคุณภาพจริงหรือไม่

ตอบ: มาตรฐาน ISO 9000 จะไม่รับประกันว่าผลิตภัณฑ์จะดีที่สุดหรือมีมาตรฐานที่สุด แต่เป็นการรับประกันว่าการบริหารงานขององค์กรมีคุณภาพทั่วทั้งองค์กร ซึ่งการที่องค์กรมีคุณภาพก็ส่งผลให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์มีคุณภาพตาม