Call Us :

093-596-1499

Location :

เมดิก้า นูทริชั่นนอล

Search
Close this search box.

OEM , ODM และ OBM คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร?

OEM

OEM, ODM และ OBM คงจะเป็นคำที่ผู้ประกอบการหน้าใหม่หรือผู้ที่กำลังมีแพลนอยากจะสร้างแบรนด์ คงจะได้ยินกันอยู่บ่อยๆ ซึ่งบางคนก็เข้าใจในความหมายของมัน แต่! ก็มีบางคนที่ยังไม่เข้าใจถึงความหมายของทั้ง 3 คำนี้! โดยเราต้องขอบอกเลยว่า O E M, O D M และ O B M คือคำที่มีความสำคัญต่อผู้ที่กำลังมีแพลนอยากจะสร้างแบรนด์เป็นอย่างมาก อ่ะ อ่ะ อ่ะ กล่าวขึ้นมาแบบนี้แล้ว คุณคงอยากจะรู้ใช่ไหมล่ะว่า โออีเอม, โอดีเอม  และ โอบีเอม ความหมายของมันคืออะไร ? และทำไมผู้ที่ต้องการสร้างแบรนด์ถึงควรรู้จักกับเจ้า 3 คำนี้ ดังนั้นเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เราไปพบกับความหมายของ โออีเอม, โอดีเอม  และ โอบีเอม กันเลย!

OEM , ODM และ OBM คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร?

oem คือ

OEM คืออะไร 

มาเริ่มกันที่คำแรกนั่นก็คือ OEM หรือ Original Equipment Manufacturer คือ ผู้รับผลิตสินค้า/ผลิตภัณฑ์ให้กับเจ้าของแบรนด์ โดยหน้าที่หลักของโรงงานประเภทนี้คือ จะรับจ้างทำการผลิตสินค้าตามที่เจ้าของแบรนด์ต้องการ ซึ่งเมื่อทำการผลิตเสร็จแล้ว เจ้าของแบรนด์สามารถนำสินค้าไปตีแบรนด์เป็นของตัวเองได้เลย ซึ่ง OEM กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มผู้ประกอบการหน้าใหม่ เพราะบริการของ โออีเอม จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่องของต้นทุนการผลิตได้เป็นอย่างดี! เช่น ผู้ประกอบการไม่ต้องสร้างโรงงาน ไม่ต้องซื้อเครื่องจักรในการผลิตเอง เป็นต้น

OEM เหมาะกับผู้ประกอบการแบบไหนนะ ? 

OEM จะเหมาะกับผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่ไม่มีโรงงานเป็นของตัวเองหรือมีเงินทุนไม่ได้สูงมาก เพราะ OEM นั้นมีความถนัดในด้านการสร้างแบรนด์ให้ลูกค้ามากกว่าที่จะสร้างแบรนด์เป็นของตัวเอง อีกทั้งลูกค้าที่เลือกใช้บริการกับโรงงานประเภท OEM ก็ไม่ต้องกังวลในการสั่งผลิตสินค้า เพราะคุณไม่จำเป็นจะต้องสั่งถึงหลักพันหลักหมื่นชิ้น! ดังนั้นโรงงานประเภท OEM จึงเหมาะเป็นอย่างมากสำหรับผู้ประกอบการหน้าใหม่หรือผู้ที่พึ่งเริ่มสร้างแบรนด์นั่นเอง 

ข้อดีของ OEM คืออะไร

  1. ช่วยลดต้นทุนในการผลิตสินค้า 
  2. เจ้าของแบรนด์ไม่จำเป็นต้องมีโรงงาน
  3. ทางโรงงาน OEM จะมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำอยู่เสมอ

ข้อเสียของ OEM คืออะไร

  1. มีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตสินค้าเอง 
  2. หากสูตรสินค้า ไม่ใช่แบบเฉพาะเจาะจง คุณภาพอาจจะไม่ได้แตกต่างจากแบรนด์อื่นๆ เท่าไหร่นัก

ODM คืออะไร

มาต่อกันที่ ODM หรือ Original Design Manufactuere ซึ่งความหมายของมันก็คือ… ผู้รับจ้างออกและผลิตสินค้าให้กับเจ้าของแบรนด์ ซึ่งต้องขอบอกก่อนว่า ODM จะมีความคล้ายคลึงกับ OEM เป็นอย่างมาก แต่! จะไม่เหมือนกันตรงที่ ODM จะมีผู้เชี่ยวชาญในด้านการออกแบบและพัฒนาสินค้าได้เอง โดยสินค้าที่ ODM ออกแบบนั้นสามารถนำเอาไปต่อยอดโดยการขายให้กับเจ้าของแบรนด์ที่มีตัวสินค้าหลักอยู่ในมือแล้ว หรือสามารถออกแบบตัวสินค้า/ผลิตภัณฑ์ร่วมกันเจ้าของแบรนด์ได้อย่างอิสระ ซึ่งการออกแบบร่วมกับเจ้าของแบรนด์นั้นจะถูกเก็บเป็นความลับอย่างดี ไม่มีการขายสูตรต่ออย่างเด็ดขาด หรือเรียกง่ายๆ ว่า ออกแบบให้เฉพาะราย โดยจะมีการคิดค่าออกแบบที่มีราคาสูงพอสมควร เพราะถือว่าเจ้าของแบรนด์หรือลูกค้าจะได้รับสูตรการผลิตไปแต่เพียงผู้เดียว!

ODM เหมาะกับผู้ประกอบการแบบไหนนะ ? 

ODM เหมาะกับผู้ประกอบการที่เริ่มมีต้นทุนในการผลิต หรือกำลังจะอยากมีสูตรสินค้าที่เป็นของตัวเองโดยเฉพาะ! เพราะโรงงานประเภท ODM นั้น จะมีความสามารถในการออกแบบสูตรให้กับเจ้าของแบรนด์ได้แบบตัวต่อตัว ซึ่งสูตรสินค้าที่ได้มานั้นจึงมีความพิเศษและไม่เหมือนกับเจ้าไหนในตลาดอย่างแน่นอน 

ข้อดีของ ODM คืออะไร

  1. ไม่ต้องคิดหรือออกแบบสูตรเองให้ยุ่งยาก 
  2. เจ้าของแบรนด์ไม่จำเป็นต้องมีโรงงานเป็นของตัวเอง
  3.  ตัวสินค้ามีความโดดเด่นและเอกลักษณ์

ข้อเสียของ ODM คืออะไร

  1. มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าแบบ OEM เพราะมีเรื่องของการออกแบบเฉพาะแบรนด์เข้ามาเกี่ยวข้อง

OBM คืออะไร

OBM หรือ Original Brand Manufacturer มีความหมายว่า การผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์ของตัวเอง โดยโรงงานประเภทนี้จะเป็นของแบรนด์ที่มีความมั่นคงแล้ว และมีความพร้อมในการผลิตสินค้าขึ้นมาเองในปริมาณจำนวนที่มาก! อีกทั้ง OBM ยังมุ่งเน้นไปที่การผลิตสินค้าที่อยู่ภายใต้แบรนด์ของตัวเองเท่านั้น จะค่อยไม่รับผลิตสินค้าให้กับแบรนด์อื่น!

OBM เหมาะกับผู้ประกอบการแบบไหนนะ ? 

หากถามว่า OBM เหมาะกับผู้ประกอบการแบบไหน เราคงตอบได้เลยว่า เหมาะกับผู้ประกอบการที่มีเงินลงทุนสูง ตัวธุรกิจมีความมั่นคงและมีอัตราการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

ข้อดีของ OBM คือ

  1. ช่วยลดต้นทุนการผลิตไปได้มาก 
  2. สามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมาก
  3. ควบคุมบริหารการผลิตได้ด้วยตัวเอง

ข้อเสียของ OBM

  1. ไม่มีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาและออกแบบการผลิต 

 จากข้อมูลที่เรากล่าวไปข้างต้น คงพอจะทำให้คุณรู้จักและเข้าใจกับคำว่า โออีเอม, โอดีเอม  และ โอบีเอม กันเพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งสำหรับผู้ประกอบการหน้าใหม่หรือผู้ที่กำลังอยากจะสร้างแบรนด์ OEM , ODM และ OBM คงจะเป็นคำที่คุณต้องพบเจออย่างแน่นอน 100% และเราหวังว่าข้อมูล&รายละเอียดทั้งหมดนี้ จะเป็นประโยชน์ให้กับคุณสำหรับการทำงานในอนาคต! หรือถ้าคุณกำลังมองหาโรงงานที่รับผลิตสินค้าหรือมีความเชี่ยวชาญทางด้านการสร้างแบรนด์อยู่ล่ะก็ ทาง Medikalabs เป็นโรงงาน OEM / ODM พร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างแบรนด์ของคุณ ให้เติบโตอย่างมั่นคงในวงการธุรกิจ ซึ่งคุณสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

เพราะเราเลือกสิ่งที่ดีที่สุดในการสร้างแบรนด์ธุรกิจให้กับคุณ
สนใจสร้างแบรนด์ ยินดีให้คำปรึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่าย !!

ติดต่อสอบถามเราได้เลย ที่

📱: 083-5662892 | 082-4622289 | 02-6863469
🖥 : https://medikanutritional.com
Facebook : https://www.facebook.com/medikalabs
Line OA : คลิก > https://lin.ee/21n2Eoo