Call Us :

093-596-1499

Location :

เมดิก้า นูทริชั่นนอล

Search
Close this search box.

เครื่องดื่มโปรตีน (Protein beverage)

เครื่องดื่มโปรตีน (Protein beverage)

ในปัจจุบันในยุคที่ผู้บริโภคใส่ใจกับสุขภาพและการออกกำลังกายมากขึ้น ทำให้ตลาดผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพเติบโตขึ้นอย่างมาก รวมถึงเครื่องดื่มเสริมโปรตีนด้วย ซึ่งจากการสำรวจและวิเคราะห์ทางการตลาดโดย Mordor intelligence พบว่าตลาดโปรตีนพร้อมดื่ม (Ready to drink protein beverage) ในช่วงปี 2020 – 2026 มีอัตราการเจริญเติบโต CAGR สูงถึง 7.72% โดยตลาดที่เจริญเติบโตเร็วที่สุดอยู่ที่ Asia-Pacific ทำให้ผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้เป็นที่จับตามองโดยผู้บริโภคและผู้ประกอบการอย่างมาก 

การพัฒนาสูตรเครื่องดื่มโปรตีนพร้อมดื่ม จะต้องมีสูตรส่วนผสมที่ดี เพื่อคุณภาพของสินค้าและประโยชน์ทางโภชนาการต่อผู้บริโภค วันนี้เราจึงจะมารีวิวทุกส่วนผสมในเครื่องดื่มโปรตีนกันกันค่ะ

  1. Protein source : แน่นอนว่าเครื่องดื่มเสริมโปรตีน ต้องมีโปรตีนเป็นส่วนประกอบหลัก โปรตีนเป็นสารอาหารที่ร่างกายนำไปใช้ในการสร้างเสริมและฟื้นฟูกล้ามเนื้อ นอกจากนี้การทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีโปรตีนสูง จะช่วยทำให้อิ่มนาน ไม่หิว ไม่กินจุกจิกระหว่างมื้อ และการทานโปรตีนจะนำไปสู่ปริมาณกล้ามเนื้อที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มระดับการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย

แหล่งของโปรตีนสามารถเลือกใช้ได้ทั้งโปรตีนนม เช่น Whey protein, Casein protein หรือโปรตีนจากพืช เช่น Soy protein, Pea protein, Hemp protein, Almond protein, Brown rice protein หรือผสมเลยก็ได้ ผงโปรตีน (protein powder) สามารถจำแนกได้เป็น 3 ฟอร์มหลัก นั่นคือ

  • Protein concentrate จะมีระดับโปรตีนอยู่ที่ 60 – 80% และส่วนที่เหลือจะเป็นไขมันและคาร์โบไฮเดรตหรือน้ำตาลที่ยังหลงเหลืออยู่
  • Protein isolate มีระดับโปรตีนที่เข้มข้นขึ้น นั่นคือ 90-95% มีการสกัดนำไขมันและคาร์โบไฮเดรตออกมากกว่าแบบ concentrate
  • Protein hydrolysate เป็นการนำโปรตีนมาย่อยให้มีขนาดเล็กลง ซึ่งร่างกายจะดูดซึมและนำไปใช้ได้รวดเร็วมากขึ้น เหมาะสมสำหรับสูตรเครื่องดื่มโปรตีนหลังออกกำลังกาย
  1. Fat source : นอกจากประโยชน์ทางโภชนาการแล้ว ต้องทานแล้วอร่อย มีความมัน ครีมด้วย จึงจำเป็นต้องเติมไขมันในสูตรเครื่องดื่ม โดยอาจเลือกใช้เป็นครีมเทียม ซึ่งราคาไม่สูง แต่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำ หรือเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการโดยการใช้ MCT oil ที่เป็นไขมันที่มีความยาวสายคาร์บอนระดับปานกลาง ให้พลังงานต่ำ ดูดซึมง่าย หรือใช้ Fish oil ซึ่งเป็นไขมันดี มี Omega สูง ทั้งนี้สามารถปรับเป็นสูตรไขมันต่ำได้ โดยใช้สารทดแทนไขมัน (Fat replacer) ทดแทน ซึ่งเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
  2. Fiber : การเสริมไฟเบอร์ สามารถเสริมคุณประโยชน์ในด้านระบบลำไส้และการขับถ่าย โดยไฟเบอร์ที่เลือกใช้ ต้องเป็นไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำได้ (Soluble dietary fiber) เช่น Inulin, FOS, resistant dextrin, polydextrose หรือ XOS นอกจากนี้ไฟเบอร์กลุ่มนี้ยังสามารถเป็น Fat replacer ได้ด้วย ทำให้สามารถลดไขมันในสูตรส่วนผสมได้ และยังให้เนื้อสัมผัสและบอดี้เมื่อรับประทาน
  3. Sweetener : หากเราต้องการลดน้ำตาลทรายในสูตรเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคต้องการลดคาร์โบไฮเดรต เราสามารถใช้สารทดแทนความหวานในสูตรได้ เช่น Sucralose, aspartame, acesulfame K หรือสารสกัดstevia (สารสกัดหญ้าหวาน) ทดแทนได้ โดยสารทดแทนความหวานี้จะใช้ปริมาณเพียงเล็กน้อยมากก็สามารถให้ความหวานระดับเดียวกับน้ำตาลทรายได้ เช่น Sucralose ที่หวานเป็น 600เท่า ของน้ำตาลทราย แต่ทั้งนี้จะต้องเลือกชนิดของสารทดแทนความหวานที่หวานเข้ากับรสชาติของเครื่องดื่ม เพราะ profile ความหวานของสารเหล่านี้จะแตกต่างจากน้ำตาลทราย ซึ่งอาจจะต้องใช้สารทดแทนความหวานสองชนิดผสมกันเพื่อให้ได้รสชาติที่ดีที่สุด
  4. Soy lecithin : สารสกัดไขมันเลซิตินจากถั่วเหลือง มีคุณสมบัติเป็น Emulsifier ในสูตรเครื่องดื่ม เพื่อป้องกันการแยกชั้นของผลิตภัณฑ์ระหว่างการเก็บรักษา ใช้ในปริมาณเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ lecithin ยังมีประโยชน์ต่อร่างกาย นั่นคือช่วยบำรุงสมอง, เสริมความจำ และบำรุงสุขภาพตับ
  5. Stabilizer : นอกจากส่วนผสมหลักทางโภชนาการ จำพวกโปรตีน ไขมัน ใยอาหารแล้ว เครื่องดื่มโปรตีนยังต้องการสารเพิ่มความคงตัว เพื่อช่วยให้ส่วนผสมในสูตรเข้ากันดี ไม่ตกตะกอนนอนก้นระหว่างการเก็บรักษา ซึ่งเป็นลักษณะที่ไม่ดีในสายตาผู้บริโภค และสารเพิ่มความคงตัวบางชนิดยังช่วยเพิ่มความหนืด เพิ่มเนื้อสัมผัสของเครื่องดื่ม ทำหน้าที่เป็น Fat replacer ทำให้รับประทานแล้วรู้สึกถึงเนื้อนมที่ข้นมันอร่อย โดยไม่เพิ่มแคลอรี่ (เพราะความมันในเครื่องดื่มจะได้มาจากไขมันหรือครีมเทียมที่มีแคลอรี่สูง) ตัวอย่างเช่น Carboxymethyl cellulose (CMC), Carrageenan, Gellan gum 

ทั้งหมดนี้เป็นส่วนผสมหลักในเครื่องดื่มเสริมโปรตีน และเรา MEDIKA LABS (บริษัท เมดิก้า แล็บส์ จำกัด) โรงงานผลิตอาหารเสริม และเครื่องสำอาง พร้อมให้คำแนะนำการพัฒนาสูตรเครื่องดื่มโปรตีน ให้อร่อย มีคุณประโยชน์ครบถ้วน พร้อมทั้งบริการผลิตโดยโรงงานมาตรฐานสากล และขึ้นทะเบียนอาหารและยา (อย.) ช่วยให้สินค้าออกสู่ท้องตลาดด้วยความมั่นใจ

เพราะเราเลือกสิ่งที่ดีที่สุดในการสร้างแบรนด์ธุรกิจให้กับคุณ สนใจสร้างแบรนด์ 

ยินดีให้คำปรึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่าย !! ติดต่อสอบถามเราได้เลย ที่ 

Tel : 083-5662892 | 082-4622289 | 02-6863469

FACEBOOK | อัพเดทเทรนด์ธุรกิจ : https://www.facebook.com/medikalabs

LINE OA | Add พูดคุย-สั่งผลิต : คลิก > https://lin.ee/21n2Eoo

GET A QUOTE | ขอใบเสนอราคาผลิต :  คลิก > https://bit.ly/3zjFpfy

อ้างอิง

Liu, J, Pedersen, HL, Knarreborg, L, Ipsen, R, Bredie, WLP. Stabilization of directly acidified protein drinks by single and mixed hydrocolloids—combining particle size, rheology, tribology, and sensory data. Food Sci Nutr 2020; 8: 6433– 6444. 

Ready to Drink (RTD) Protein Beverage Market | 2021 – 26 | Industry Share, Size, Growth – Mordor Intelligence. (2021). Retrieved 20 August 2021, from https://www.mordorintelligence.com/industry-reports/ready-to-drink-protein-beverages-market

Rial, S. A., Karelis, A. D., Bergeron, K. F., & Mounier, C. (2016). Gut Microbiota and Metabolic Health: The Potential Beneficial Effects of a Medium Chain Triglyceride Diet in Obese Individuals. Nutrients8(5), 281. 

Spritzler, F. (2018). The 7 Best Types of Protein Powder. Retrieved 20 August 2021, from https://www.healthline.com/nutrition/best-protein-powder

ผลงานของเรา