MEDIKALABS-medika-oem-logo

QA และ QC คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร ควรรู้อะไรบ้าง

qa คือ

ตำแหน่งงาน QC และ QA คือตำแหน่งหน้าที่ที่หลายคนรู้จักกันดีในแวดวงการทำงานโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ที่จำเป็นจะต้องมีตำแหน่ง QA และ QC เพื่อควบคุมคุณภาพของสินค้า แต่รู้หรือไม่ว่า QC คืออะไร QA คือตำแหน่งอะไร ในบทความนี้ โรงงานผลิตอาหารเสริม Medika Labs จะมาพูดถึงความแตกต่างของหน้าที่ตำแหน่ง QA และตำแหน่ง QC

QA (Quality Assurance) คืออะไร

QA ย่อมาจาก Quality Assurance ซึ่ง Quality Assurance (QA) คือการประกันคุณภาพ การันตีสินค้าและบริการ ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า โดยจะมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นเครื่องรับประกันว่าคุณภาพสินค้าและบริการจะตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้

QC (Quality Control) คืออะไร

QC ย่อมาจาก Quality Control ซึ่ง Quality Control (QC) คือการควบคุมคุณภาพสินค้า โดยใช้วิธีตรวจสอบคุณภาพสินค้าระหว่างการผลิตทุกขั้นตอนให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณ เช่น การตรวจสอบชิ้นงาน ทดสอบชิ้นงาน ควบคุมการผลิตสินค้า แก้ไขปัญหาคุณภาพต่างๆ ระหว่างการผลิต เป็นต้น 

ความแตกต่างของ QA & QC

qa qc คือ

ความแตกต่างระหว่าง QA และ QC คือ QC การควบคุมคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของ QA การรับประกันคุณภาพ ซึ่งการรับประกันคุณภาพก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบบริหารงานคุณภาพ (QMS) นั่นเอง ทั้งกระบวนการประกันคุณภาพและกระบวนการควบคุมคุณภาพมีจุดประสงค์เดียวกันคือเพื่อเป็นกระบวนการตรวจสอบเพื่อป้องกันการเกิดความผิดพลาดที่ส่งผลต่อคุณภาพของสินค้า จุดที่ต่างคือ QA หน้าที่จะเน้นวงจรคุณภาพ (Quality Loop) ส่วน QC จะให้ความสำคัญกับกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ

ตำแหน่งงาน QA & QC ทำหน้าที่อะไรบ้าง

หน้าที่ของตำแหน่ง QA คือเป็นผู้วางแผนการทำงาน ส่วนหน้าที่ของตำแหน่ง QC คือเป็นผู้ปฏิบัติงานการตรวจสอบคุณภาพสินค้าและผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ตำแหน่ง QA กำหนดไว้ ตัวอย่างตำแหน่งงานของ QA QC เช่น

ตำแหน่งงานสาย QA มีหน้าที่อะไรบ้าง

QA คือตําแหน่งอะไร QA ทำหน้าที่อะไร แผนก QA คือ 

  • พนักงาน QA (QA Officer) คือ เจ้าหน้าที่ประกันคุณภาพ ทำหน้าที่ควบคุมคุณภาพการผลิตสินค้าและบริการตรวจตรวจสอบทุกขั้นตอนของการผลิตไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด รวมถึงบันทึกการตรวจสอบและผลการผลิตรายงานส่งผู้บริหาร
  • QA Engineer คือ วิศวกรประกันคุณภาพ ทำหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมให้สินค้าขององค์กรได้ตามมาตรฐานที่ลูกค้าต้องการ รวมถึงออกแบบ ปรับปรุง พัฒนา กระบวนการ อุปกรณ์ เครื่องมือ ต่างๆ เพื่อรับประกันว่าสินค้าตรงตามมาตรฐานที่ลูกค้าต้องการ
  • QA Manager คือ ผู้จัดการฝ่ายประกันคุณภาพ ทำหน้าที่ตรวจสอบผลิตภัณฑ์เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของบริษัทและข้อกำหนดของลูกค้า กำหนดเป้าหมาย KPI จัดการเอกสาร แก้ปัญหา เป็นต้น 
  • QA Supervisor คือ หัวหน้างานฝ่านประกันคุณภาพ ทำหน้าที่จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ สนับสนุนกระบวนการพัฒนาโปรแกรมใหม่การตรวจสอบผลิตภัณฑ์และการอนุมัติของลูกค้า ขับเคลื่อนทีม

ตำแหน่งงานสาย QC มีหน้าที่อะไรบ้าง

หน้าที่ QC โรงงาน ตำแหน่งงานสาย QC เช่น

  • พนักงาน QC (QC Officer) คือ เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพ ทำหน้าที่รับผิดชอบการตรวจสอบคุณภาพของงานระหว่างกระบวนการผลิต วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาคุณภาพร่วมกันทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงหน้าที่ประสานงานต่างๆ 
  • QC Engineer คือ วิศวกรควบคุมคุณภาพ ทำหน้าที่ควบคุมตรวจสอบผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในขั้นการผลิตให้เป็นไปตามที่กำหนด รวมถึงแก้ไขปัญหาต่างๆ ในระบบงาน QC
  • QC Manager คือ ผู้จัดการฝ่ายควบคุมคุณภาพ ทำหน้าที่ส่งเสริมนโยบาายคุณภาพ กำหนดโครงสร้างองค์กร จัดการกับสถานการณ์วิกฤต ดำเนินการตรวจติดตามด้านคุณภาพ รวมถึงสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
  • QC Supervisor คือ หัวหน้างานตรวจสอบและควบคุมคุณภาพ ทำหน้าที่จัดการงาน QC และ QA โดยรวม ตรวจสอบการคุมคุมที่เข้ามาและขั้นสุดท้าย ตรวจสอบคุณภาพในกระบวนการผลิต และควบคุมกระบวนการให้เป็นไปตามข้อกำหนด GMP HACCP หรือข้อกำหนดของลูกค้า

ตัวอย่างการทำ QA & QC

ตัวอย่างการทำ QA

qa หมายถึง

ในกรณีที่ทีม QA ต้องพัฒนาเทคโนโลยีและมาตรฐานกำหนดใหม่ทั้งหมดสำหรับสินค้าที่กำลังจะผลิต จากความรู้ของฝ่าย QA จำเป็นต้องรวบรวมข้อกำหนดเบื้องต้น เช่น DOU (เอกสารความเข้าใจ) เอกสารการออกแบบ เอกสารข้อกำหนดทางเทคนิค เอกสารข้อกำหนดการทำงาน ฯลฯ และแบ่งปันสิ่งเหล่านี้กับทีม

สิ่งนี้จะเป็นประโยชน์ในขณะที่ทำงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ และแม้กระทั่งจะเป็นประโยชน์สำหรับสมาชิกใหม่ในทีม QA การรวบรวมและแจกจ่ายเอกสารประกอบและเริ่มต้นโปรแกรมการฝึกอบรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ QA

ตัวอย่างการทำ QC

งาน qa คือ

ตัวอย่างการทำ QC เช่น การควบคุมปัจจัยคุณภาพ (Quality Factor) อันได้แก่

  • ปัจจัยคุณภาพเกี่ยวกับปริมาณ ได้แก่ ผลผลิต ส่วนผสม น้ำหนักสุทธิ
  • ปัจจัยคุณภาพซ่อนเร้น ได้แก่ สารพิษ สารเจือปนที่ไม่มีอันตราย
  • ปัจจัยคุณภาพทางด้านประสาทสัมผัส
    • การมองเห็น ได้แก่ สี ขนาด รูปร่าง ความเลื่อมมัน ตำหนิ ความคงตัว
    • ความหนืด
    • การสัมผัส ได้แก่ สัมผัสด้วยปาก มือ ร่างกาย
    • การชิม ได้แก่ รสและกลิ่น

QA&QC ศัพท์เฉพาะทางที่ควรรู้

ศัพท์เฉพาะทางที่ควรรู้เกี่ยวกับ QA QC คือ

  • การควบคุม (Control) คือการบังคับให้กิจกรรม การผลิตสินค้าต่างๆ เป็นไปตามกระบวนการที่วางไว้ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงสุด
  • คุณภาพ (Quality) คือการควบคุมสินค้าให้ผลิตอย่างเหมาะสมกับการใช้งาน (fineness for use) มีการออกแบบที่ดี (quality of design) และมีการผลิตที่ได้มาตรฐาน
  • ต้นแบบในการผลิต (Standard) คือ ต้นแบบสินค้าที่ใช้ในการผลิต ตรวจสอบ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานที่ลูกค้าต้องการ

AQL คือ เปอร์เซนต์ (%) สูงสุดที่ยอมรับได้ของผลิตภัณฑ์ที่เสียในกระบวนการผลิต

คำถามที่เกี่ยวข้องกับ QA

qc โรงงานทำอะไรบ้าง 

QC ในโรงงานอุตสาหกรรม ต้องควบคุมการผลิตสินค้าต้องให้ตรงตามมาตรฐานก่อนจำหน่ายในท้องตลาด โดยขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพสินค้ามีดังต่อไปนี้

  1. ตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบ (RAW MATERIAL)
  2. ตรวจสอบคุณภาพบรรจุภัณฑ์ (PACKAGING)
  3. ตรวจสอบคุณภาพเนื้อผลิตภัณฑ์ (BULK)
  4. ตรวจสอบคุณภาพระหว่างการผลิต
  5. ตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป (FINISH GOOD)

สรุป

กว่าจะได้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่ง เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจในคุณภาพจำเป็นจะต้องผ่านการควบคุมคุณภาพและประกันคุณภาพสินค้าก่อน ซึ่งสองอย่างที่กล่าวไปคือหน้าที่ของงาน Quality Assurance (QA) และ Quality Control (QC) นั่นเอง ข้อแตกต่างคือ QA เน้นการจัดการและขั้นตอนที่ป้องกันไม่ให้สินค้าไม่ได้คุณภาพ ส่วน QC เน้นการแก้ไข ตรวจสอบคุณภาพสินค้า และระบุสินค้าที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานการผลิตที่กำหนดไว้