Call Us :

093-596-1499

Location :

เมดิก้า นูทริชั่นนอล

Search
Close this search box.

สูตรผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ช่วยคลายกล้ามเนื้อ ออฟฟิศซินโดรม Relax all

ช่วยคลายกล้ามเนื้อ ออฟฟิศซินโดรม

Health support series- Relax all สูตรผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ช่วยคลายกล้ามเนื้อ ออฟฟิศซินโดรม

อาหารสำหรับคลายกล้ามเนื้อ ทุกวันนี้การปวดเมื่อย ตึงเกร็งกล้ามเนื้อ ไม่ได้เกิดจากการออกกำลังกาย หรือใช้แรงหนักๆเพียงอย่างเดียว แต่การนั่งทำงานคอมพิวเตอร์ หรือนั่งนานๆอยู่กับที่ก็ทำให้เกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อได้เช่นกัน เนื่องจากพฤติกรรมเหล่านี้เป็นการใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆเป็นเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อตึงเกร็งสะสม จนก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดตามมา นั่นคืออาการ Office syndrome นั่นเอง นอกจากการยืดเหยียดกล้ามเนื้อจะสามารถช่วยคลายความปวดตึงกล้ามเนื้อได้แล้ว การทานสารสกัดสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาก็สามารถช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อ ลดการอักเสบ และเพิ่มการไหลเวียนของกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อ Relax ผ่อนคลายมากขึ้นได้เช่นกัน

สารสำคัญ

  1. สารสกัดจากขมิ้นชัน (Tumeric Root Extract) มีสารออกฤทธิ์คือ curcumin, demethoxycurcumin และ bis-demethoxycurcumin มีสรรพคุณ Anti-inflammatory ลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ ทำให้สามารถบรรเทาและฟื้นฟูอาการปวดบวมของกล้ามเนื้อที่มีการปวดอักเสบแบบเรื้อรัง รวมถึงสามารถลดอาการกล้ามเนื้ออักเสบและอ่อนล้าหลังออกกำลังกายได้ เนื่องจากสารสำคัญในขมิ้นชันจะไปช่วยยับยั้งกระบวนการสร้าง cytokine ที่ก่อให้เกิดอาการอักเสบ ทำให้กล้ามเนื้ออักเสบน้อยลง สารสกัดจากขมิ้นชันยังมีสมบัติการต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidant) ช่วยให้เซลล์สุขภาพดีและเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
  2. สารสกัดจากขิง (Ginger Root Extract) มีสารสำคัญ Gingerol และ Shogaol  มีสรรพคุณลดการอักเสบ (Anti-inflammatory) ทำให้เลือดไหลเวียนดี และช่วยลดการแข็งตัวของเลือด(Blood clotting) รวมถึงยังมีสมบัติด้าน Analgesic ช่วยบรรเทาอาการอักเสบของกล้ามเนื้อและแก้ปวด ซึ่งงานวิจัยก็ได้รายงานผลการทดลองว่าการทานสารสกัดขิงเป็นเวลา 11 วันต่อเนื่องช่วยลดอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกายได้ถึง 25%
  3. สารสกัดจากพุทราจีน (Jujube Seed Extract) มีสารสำคัญกลุ่ม flavonoids, polysaccharides, terpenoids, saponins และ nucleotides ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยบำรุงเลือด เนื่องจากสารสำคัญในสารสกัดพุทราจีนจะกระตุ้นการหลั่งของสาร erythropoietin (EPO) ที่เป็นฮอร์โมนกระตุ้นการผลิตเม็ดเลือด และยังมีสมบัติเพิ่มการไหลเวียนของเลือด  อาหารสำหรับคลายกล้ามเนื้อ โดยการลดการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด (platelet aggregation) สารสกัดพุทราจีนยังช่วยกระตุ้นร่างกายให้เกิดการหลั่งของสาร GABA และ Serotonin ที่ช่วยปรับอารมณ์ให้ทำให้นอนหลับง่ายขึ้น และยังปรับระดับสาร benzodiazepine และdopamine ที่ทำหน้าที่ควบคุมวงจรการนอน-ตื่นของเรา และทำให้อารมณ์ดีขึ้น
  4. สารสกัดจากอบเชยเทศ (Cinnamon Extract) มีสมบัติเป็นสารต้านการอักเสบ ช่วยลดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ ฟื้นฟูกล้ามเนื้อที่เกร็งตึง โดยจากการทดสอบให้อาสาสมัคร 18 คน ทาน Cinnamon Extract เป็นเวลา 9 วัน และวัดผลความล้าของกล้ามเนื้อก่อนและหลังการใช้แรงกล้ามเนื้อ bicep พบว่ากลุ่มที่ทาน Cinnamon Extract มีความสามารถในการลดความล้าของกล้ามเนื้อได้ดี และกล้ามเนื้อสามารถฟื้นฟูได้เร็วกว่ากลุ่มที่ทานยาหลอก (placebo)
  5. สารสกัดจากโกศเขมา (White Atractylodes Extract) มีสมบัติช่วยบรรเทาอาการโรคข้อได้ โดยจากการทดสอบพบว่าเมื่อให้ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บข้ออย่างรุนแรง และมีอาการข้อบวมทานสารสกัดจากโกศเขมาบริสุทธิ์ ผลคือผู้ป่วยมีอาการโรคข้อที่ดีขึ้นข้อ เนื่องจากมีสมบัติด้านการลดอาการอักเสบ และยังช่วยคลายกล้ามเนื้ออีกด้วย
  6. สารสกัดโสมอินเดีย (เหง้า) (Ashwagandha extract) เป็นสาร adaptogenic ช่วยปรับสมดุลและฟื้นฟูร่างกาย สารสกัดโสมอินเดียมีสารสำคัญในกลุ่ม saponins และ alkaloids ช่วยคลายความเครียดให้กล้ามเนื้อ โดยฟื้นฟูกล้ามเนื้อ คลายความเจ็บ คลายความล้าของกล้ามเนื้อโดยการลดระดับกรดแลคติกในกล้ามเนื้อที่เป็นของเสียสะสมในกล้ามเนื้อหลังการใช้กล้ามเนื้อหนักๆ ซึ่งทำให้เกิดอาการเมื่อยล้าและปวดกล้ามเนื้อ สารสกัดโสมอินเดียยังมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงช่วยลดการอักเสบ และยังลดฮอร์โมนความเครียด หรือ Cortisol อีกด้วย

จุดเด่นสูตรผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ช่วยคลายกล้ามเนื้อ ออฟฟิศซินโดรม

สูตรผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ช่วยคลายกล้ามเนื้อ ออฟฟิศซินโดรม – Relax all ได้คัดเลือกสารสกัดสมุนไพรธรรมชาติ ที่มีฤทธิ์ทางยาในการช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ, ลดอาการบวมอักเสบ, เพิ่มอัตราการไหลเวียนของกล้ามเนื้อ และปรับสมดุลฮอร์โมนทำให้กล้ามเนื้อคลายความเครียด ทำให้รู้สึกสบายขึ้น นอนหลับง่ายขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่ทำงานหนัก, ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมๆเป็นเวลานาน เช่น ผู้ที่มีอาการ Office syndrome, ผู้ที่มีความเครียดสะสม และรู้สึกไม่สบายตัว นอกจากนี้สารสกัดสมุนไพรเหล่านี้ยังมีสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยสมดุลเซลล์ภายในร่างกายให้ยังสุขภาพดี

เจ้าของแบรนด์ที่สนใจสูตรผลิตภัณฑ์เสริม อาหารสำหรับคลายกล้ามเนื้อ ออฟฟิศซินโดรม- Relax all สามารถติดต่อเรา MEDIKA LABS (บริษัท เมดิก้า แล็บส์ จำกัด) ผู้รับผลิตสร้างแบรนด์ระดับพรีเมี่ยม เราให้บริการแบบครบวงจร พร้อมให้คำแนะนำทุกขั้นตอนการสร้างแบรนด์อย่างใกล้ชิด พร้อมให้ผลิตภัณฑ์ออกสู่ท้องตลาดด้วยความมั่นใจ

ดังนั้นคุณจึงมั่นใจได้เลยว่า Medikalabs จะช่วยให้ผลิตภัณฑ์ของคุณ ก้าวขึ้นเป็นที่หนึ่งในวงการธุรกิจได้อย่างแน่นอน!

ติดต่อสอบถามรายละเอียดฟรี ไม่มีค่าใช้ได้ที่…

Tel : 083-5662892 | 082-4622289 | 02-6863469

FACEBOOK | อัพเดทเทรนด์ธุรกิจ : https://www.facebook.com/medikalabs

LINE OA | Add พูดคุย-สั่งผลิต : คลิก > https://lin.ee/21n2Eoo

GET A QUOTE | ขอใบเสนอราคาผลิต :  คลิก > https://bit.ly/3zjFpfy

Website : https://medikanutritional.com

อ้างอิง

Bayati Zadeh, J. and Moradi Kor, N., 2014. Physiological and pharmaceutical effects of Ginger (Zingiber officinale Roscoe)as a valuable medicinal plant. European Journal of Experimental Biology, 4(1).

Bharti AC, Donato N, Aggarwal BB. Curcumin (diferuloylmethane) inhibits constitutive and IL-6-inducible STAT3 phosphorylation in human multiple myeloma cells. Journal of Immunology 2003; 171:3863-71

Belcher, H.; Couch, M.; Smith, S.; Coate, K. (2019). The Effects of Cinnamon Supplementation on Muscle Soreness and Performance Output in Collegiate Athletes. Journal of the Academy of Nutrition and Dietetics, 119(10), A132–. doi:10.1016/j.jand.2019.08.114 

Christopher D. Black, Matthew P. Herring, David J. Hurley, Patrick J. O’Connor. Ginger (Zingiber officinale) Reduces Muscle Pain Caused by Eccentric Exercise. The Journal of Pain, 2010; DOI: 10.1016/j.jpain.2009.12.013

Summers, M. (2019). Turmeric: The Key to Inflammatory & Arthritis Pain?. Retrieved 6 September 2021, from https://www.practicalpainmanagement.com/patient/treatments/nutraceuticals/turmeric-key-inflammatory-arthritis-pain

Shergis, J. L., Ni, X., Sarris, J., Zhang, A. L., Guo, X., Xue, C. C., Lu, C., & Hugel, H. (2017). Ziziphus spinosa seeds for insomnia: A review of chemistry and psychopharmacology. Phytomedicine : international journal of phytotherapy and phytopharmacology34, 38–43. https://doi.org/10.1016/j.phymed.2017.07.004

Wankhede, S., Langade, D., Joshi, K., Sinha, S. R. & Bhattacharyya, S. Examining the effect of Withania somnifera supplementation on muscle strength and recovery: a randomized controlled trial. J. Int. Soc. Sports Nutr. 12, 43 (2015).

Zhang, W. J., Zhao, Z. Y., Chang, L. K., Cao, Y., Wang, S., Kang, C. Z., Wang, H. Y., Zhou, L., Huang, L. Q., & Guo, L. P. (2021). Atractylodis Rhizoma: A review of its traditional uses, phytochemistry, pharmacology, toxicology and quality control. Journal of ethnopharmacology266, 113415. https://doi.org/10.1016/j.jep.2020.113415

About Our Proprietor

รับผลิตอาหารเสริมและเครื่องดื่ม

ODM/OEM Dietary Supplement Product
Branding & Marketing to Grow Your Brand