Call Us :

093-596-1499

Location :

บริษัท เมดิก้า แล็บส์ จำกัด

Search
Close this search box.

ทำไม? เครื่องดื่มผสมวิตามินซี มีปริมาณวิตามินซีบนฉลากไม่เท่ากับปริมาณที่วิเคราะห์ได้จริง

เครื่องดื่มผสมวิตามินซี

ทำไม? มีปริมาณวิตามินซีบนฉลากไม่เท่ากับปริมาณที่วิเคราะห์ได้จริง

ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ภายใต้โครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ได้ทดสอบเครื่องดื่มผสมวิตามินซี จำนวน 47 ตัวอย่างในท้องตลาด และพบว่ามีเครื่องดื่มจำนวน 33 ตัวอย่าง มีปริมาณวิตามินซีไม่ตรงกับที่แจ้งบนฉลาก และมีถึง 8 ตัวอย่างไม่พบปริมาณวิตามิน ซี 

วิตามิน ซี เป็นวิตามินละลายน้ำที่จำเป็นต่อร่างกาย ใช้ในกระบวนการทำงานของร่างกายหลายปฏิกิริยา เช่น การสร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกัน, การสังเคราะห์คอลลาเจน, การเมทาบอลิซึมของกรดอะมิโน หรือการสร้างกระดูกและฟัน เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปเราสามารถรับวิตามิน ซีจากผักผลไม้ เช่น ฝรั่ง, ส้ม, มะนาว, ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่, บล็อกคอรี่ เป็นต้น กระทรวงสาธารณสุขได้แนะนำให้คนไทยตั้งแต่อายุ 6 ปีขึ้น รับประทานวิตามินซี ขั้นต่ำปริมาณ 60 มิลลิกรัมต่อวัน (นับเป็น100% ของ Thai RDI) ซึ่งหลายๆ คนได้รับปริมาณวิตาซีไม่ถึงปริมาณดังกล่าว เครื่องดื่มผสมวิตามินซีจึงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้กำหนดปริมาณสูงสุดของการเติมวิตามินที่ละลายได้ในน้ำไว้ที่ 200 % ของ Thai RDI นั่นคือ ไม่เกิน 120 มิลลิกรัมต่อวัน และหากมีปริมาณวิตามินซีมากเกินกว่า 200% ของThai RDI ผู้ประกอบการต้องยื่นหลักฐานการศึกษาการคงสภาพวิตามินซีตลอดอายุการเก็บรักษามาประกอบการพิจารณา แต่หากตรวจพบว่าปริมาณวิตามินซีไม่ตรงตามแจ้งบนฉลากหรือไม่พบวิตามินซี จะมีความผิดและได้รับโทษปรับ ทั้งนี้ปริมาณวิตามินซีที่ใส่ในผลิคตภัณฑ์ต้องอยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

วิตามิน ซี (Ascorbic acid)

เป็นวิตามินที่สลายตัวง่าย โดย Ascorbic acid จะถูกออกซิไดส์ด้วยออกซิเจนในอากาศเป็น Dehydroascorbic acid (DHAA) และไฮโดรไลซิส (ปฏิกิริยาโดยน้ำ) เป็น 2,3-diketogulonic acid ซึ่งจะสูญเสีญฟังก์ชั่นการเป็นวิตามินไป แต่กระบวนการ Glutathione (GSH) ในร่างกายสามารถเปลี่ยนฟอร์ม DHAA ให้กลับมาเป็น Ascorbic acid และฟังก์ชั่นในร่างกายได้ดี ปัจจัยที่มีผลเร่งการสลายตัวของวิตามินซี ได้แก่ ค่าความเป็นกรดด่าง, ความเข้มข้นของออกซิเจน, ปริมาณโลหะอิออน (Metal ion) เช่น ทองแดง (copper) และเหล็ก (iron), แสงสว่าง, อุณหภูมิ, เอนไซม์ นอกจากนี้วิตามินซีที่ผสมในเครื่องดื่มรูปแบบต่างๆก็มีอัตราการสลายของวิตามินที่แตกต่างกัน เช่น วิตามินซีในเครื่องดื่มที่มีนมเป็นส่วนประกอบจะสลายตัวเร็วกว่าเครื่องดื่มประเภทน้ำผลไม้และน้ำแต่งกลิ่นรส

ในกระบวนการผลิตเครื่องดื่มผสมวิตามินซี จำเป็นต้องมีการให้ความร้อนสูง 90 -95°C เพื่อฆ่าเชื้อสินค้า , การเติมแต่งกรดเพื่อรสชาติของเครื่องดื่ม, ปริมาณโลหะที่อาจปะปนระหว่างกระบวนการผลิตและบรรจุ, ความร้อนระหว่างการจัดเก็บและขนส่งที่ควบคุมได้ยาก โดยเฉพาะในประเทศไทยที่เป็นประเทศเมืองร้อน และแสงสว่างหรือรังสียูวีที่อาจไม่สามารถปกป้องได้ด้วยขวดใส แต่การใช้ขวดทึบแสงก็อาจไม่สวยดึงดูดผู้บริโภค จึงเป็นที่มาให้วิตามินซีในเครื่องดื่มลดน้อยลงจนต่ำกว่าปริมาณที่แจ้งไว้ข้างฉลาก ดังนั้นผู้ผลิตบางโรงงานอาจใส่ปริมาณวิตามินซีไปให้สูงกว่าปริมาณที่ระบุบนฉลาก แต่อยู่ในช่วงที่ปลอดภัยต่อการบริโภค เพื่อให้ยังมีปริมาณวิตามินซีในผลิตภัณฑ์สูงตามฉลาก แม้ว่าวิตามินซีบางส่วนจะเสื่อมสลายไปบ้างแล้ว นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังสามารถปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ให้เป็นขวดสีทึบเพื่อชะลอการเปลี่ยนฟอร์มของวิตามินซี, การใช้วิตามินซีในรูปแบบที่เสถียรมากขึ้น (เช่น Sodium Ascorbyl Phosphate, Encapsulated Vitamin C, Lyposome Vitamin C), การปรับเปลี่ยนรูปแบบผลิตภัณฑ์ให้อยู่ในรูปแบบ Pre-mix vitamin บรรจุกระปุกหรือซองและนำมาผสมน้ำก่อนรับประทานเพื่อให้วิตามินซียังคงคุณสมบัติที่ดีที่สุด 

ผู้ประกอบการ เครื่องดื่มผสมวิตามินซี

ต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อปริมาณวิตามินซีในเครื่องดื่มอย่างถี่ถ้วน การเลือกโรงงานผู้ผลิตสามารถเพิ่มความมั่นใจให้ผู้ประกอบการได้ เนื่องจากโรงงานที่มีความเชี่ยวชาญจะสามารถเลือกส่วนผสมและปรับสูตรให้วิตามินซีในเครื่องดื่มความเสถียรสูงสุด, มีกระบวนการให้ความร้อนที่สูงและรวดเร็วมากพอที่จะฆ่าเชื้อแบคทีเรียก่อโรค แต่ก็ยังคงปริมาณวิตามินซีและลดอุณหภูมิด้วยความรวดเร็วเพื่อหยุดกระบวนการสลายตัวของวิตามินซี, มีกระบวนการบรรจุที่ได้มาตรฐาน, เลือกขวดบรรจุภัณฑ์ที่ปกป้องคุณสมบัติของวิตามินซีได้ รวมถึงมีสถานที่เก็บผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม ไม่ร้อนจัด ชื้นจัด ทำให้ผลิตภัณฑ์คงคุณภาพสูงสุดก่อนถึงมือผู้บริโภค และผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีจะก่อให้เกิดความมั่นใจต่อผู้ประกอบการและส่งต่อถึงผู้บริโภคในที่สุด

 

เพราะเราเลือกสิ่งที่ดีที่สุดในการสร้างแบรนด์ธุรกิจให้กับคุณ สนใจสร้างแบรนด์ กับ Medikalabs โรงงานผลิตอาหารเสริม และเครื่องสำอาง 

ยินดีให้คำปรึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่าย !! ติดต่อสอบถามเราได้เลย ที่ 

📱: 083-5662892 | 082-4622289 | 02-6863469

Facebook : https://www.facebook.com/medikalabs

Line OA : คลิก > https://lin.ee/21n2Eoo

 

อ้างอิง

Gregory J F. Vitamins. In: Damodaran S, Parkin K L, Fennema O R, editor. Fennema’s Food Chemistry. 4th ed. Boca Raton: CRC Press; 2007. p. 439-522.

Quali C: Vitamin C | DSM Human Nutrition & Health. (2021). Retrieved 8 August 2021, from https://www.dsm.com/human-nutrition/en/products/vitamins/vitamin-c.html

STEŠKOVÁ, A., MOROCHOVIČOVÁ, M., & LEŠKOVÁ, E. (2006). Vitamin C degradation during storage of fortified foods. Journal Of Food And Nutrition Research45(2), 55-61.

ฉลาดซื้อเผยผลตรวจ ‘เครื่องดื่มผสมวิตามินซี’ ไม่พบปริมาณวิตามินซี 8 ตัวอย่าง และมีปริมาณวิตามินซีไม่ตรงตามที่แจ้งบนฉลาก. (2020). Retrieved 8 August 2021, from https://www.chaladsue.com/article/3559

สารอาหารที่แนะนําให้บริโภคประจําวันสําหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป. (2021). Retrieved 8 August 2021, from http://food.fda.moph.go.th/Rules/dataRules/4-4-2ThaiRDI.pdf

อย. แจง ปริมาณวิตามินซีในเครื่องดื่มผสมวิตามินซีต้องตรงตามที่ฉลากระบุ. (2021). Retrieved 8 August 2021, from http://pca.fda.moph.go.th/public_media_detail.php?id=2&cat=50&content_id=1950

 

About Our Proprietor

รับผลิตอาหารเสริมและเครื่องดื่ม

ODM/OEM Dietary Supplement Product
Branding & Marketing to Grow Your Brand